Saturday, February 2, 2013

การลอกคราบของเครฟิช (Crayfish Moulting)

สำหรับผู้เลี้ยงเครฟิชส่วนใหญ่มักจะเฝ้ารอว่าเครฟิชที่เลี้ยงอยู่จะลอกคราบเมื่อไร มีคำถามอยู่บ่อยในเวปบอร์ดว่าทำเครฟิชของตนไม่ลอกคราบเสียที

การที่เครฟิชจะลอกคราบเมื่อไรนั้น ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบ กับฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบ ฮอร์โมนทั้งสองนี้จะทำงานควบคู่กับไป และมีการควบคุมซึ่งกันและกันไปตามระยะของการลอกคราบและปัจจัยต่างๆ

ผมขอยกปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการลอกคราบ ซึ่งจะแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

1. อุณหภูมิน้ำ เครฟิชเป็นสัตว์เลือดเย็น ซึ่งธรรมชาติของสัตว์เลือดเย็น เวลาอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมลดลง อย่างในช่วงฤดูหนาว ในเขตอบอุ่น เช่นในทวีปยุโรป ในธรรมชาติเครฟิชก็จะนอนนิ่งๆ ไม่ไหวติงในโคลน และในช่วงนี้มันก็จะไม่ลอกคราบเด็ดขาด คือเข้าสู่ภาวะการ 'จำศีล' นั่นเอง ช่วงนี้กระแสเลือดก็จะมีฮอร์โมนยังยั้งการลอกคราบอยู่สูง

2. อายุหรือขนาดของเครฟิช เครฟิชเป็นสัตว์ที่จะเติบโตขึ้น โดยวัดจากรอบของการลอกคราบ สำหรับเครฟิชอายุน้อยก็จะลอกคราบถี่หน่อย เพื่อเจริญเติบโต แต่สำหรับเครฟิชที่โตเต็มวัยตามสายพันธุ์แล้ว ความถี่ของการลอกคราบก็จะลดลงเป็นประมาณปีละครั้ง ซึ่งแตกต่างจากเครฟิชวัยเด็ก ที่ลอกคราบบ่อยๆ เป็นรายวันเลยทีเดียว

3. ปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารที่สะสมไว้ในตัว ในระหว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชต้องใช้โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง และต้องสะสมไว้อย่างเพียงพอ เพราะในระหว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชจะไม่กินอาหาร เมื่อสะสมอาหารไว้อย่างเพียงพอแล้ว ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบก็จะสูงในกระแสเลือด

4. เครฟิชเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะไม่ลอกคราบจนกว่าลูกๆ จะฟักเป็นตัว ช่วงนี้กระแสเลือดก็จะมีฮอร์โมนยังยั้งการลอกคราบอยู่สูง

5. เครฟิชที่ถูกพาราสิตเกาะ ก็ไม่ลอกคราบ หรือลอกคราบช้า หรือลอกลอกคราบไม่สมบูรณ์ได้ เพราะถูกพาราสิตดึงสารอาหารไปใช้จนไม่สามารถสะสมสารอาหารและแร่ธาตุไว้ได้ (ข้อนี้จะสัมพันธ์กับข้อ 3. ที่ได้กล่าวมาแล้ว)

6. เครฟิชที่สูญเสียรยางค์ต่างๆ เช่น ก้าม หรือขา ยิ่งจำนวนรยางค์ที่สูญเสียยิ่งมากก็ยิ่งจะไปกระตุ้นให้เร่งสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการลอกคราบ เห็นได้ชัดเจนในเครฟิชที่สูญเสียรยางค์มากกว่า 4 ชิ้นขึ้นไป จะลอกคราบเร็วอย่างมากเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ในขณะเดียวกันก็จะเข้าสู่กระบวนการงอกใหม่ (Autotomy) เพื่อสร้างรยางค์ทดแทน ซึ่งเครฟิชมักจะสูญเสียรยางค์จากการต่อสู้กันเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะถูกตัดขาด หรือสลัดรยางค์เพื่อลดการสูญเสียก็เกิดขึ้นได้เสมอๆ หากการเครฟิชรวมกัน และไม่มีที่หลบซ่อนอย่างเพียงพอ หรือในกรณีที่ลอกคราบได้ไม่สมบูรณ์ก็เป็นเหตุให้สูญเสียรยางค์ได้เช่นกัน

การลอกคราบไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่มักเกิดกับเครฟิชที่โตเต็มที่ ซึ่งมักมีก้ามขนาดใหญ่ ทำให้สลัดเปลือกได้ยากกว่า บางครั้งการดีดตัวออกจากเปลือกก็ทำให้ก้ามขาดได้ ในกระบวนการงอกใหม่จะสร้างรยางค์ขึ้นมาใหม่ แต่ขนาดจะเล็กกว่าเดิม และต้องอาศัยการลอกคราบหลายครั้งจึงจะมีขนาดเท่าเดิม

มีภาพแสดงส่อสัญญาณว่าเครฟิชกำลังใกล้จะลอกคราบ โดยเปลือกเริ่มปริแยกออกจากกัน



วีดิทัศน์เครฟิช Procambarus clarkii กำลังลอกคราบ



คำแนะนำสำหรับมือใหม่

ในระหว่างการลอกคราบ และหลังลอกคราบประมาณ 24 ชั่วโมง เป็นเวลาที่อันตรายที่สุด เนื่องจากเปลือกยังอ่อนนุ่ม ทำให้อ่อนแอ อาจถูกสัตว์อื่น หรือเครฟิชร่วมตู้เดียวกันจับกินได้ง่าย เปลือกของเครฟิชจะค่อยๆ แข็งขึ้นภายใน 2-3 วันก็จะแข็งแรงเป็นปกติ สำหรับมือใหม่จึงควรเลี้ยงเครฟิชเดี่ยวๆ ก่อน ไม่ต้องมี Tank Mate ไม่ว่าจะเป็นเครฟิชด้วยกัน หรือสัตว์น้ำอื่นๆ แล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในระยะก่อนลอกคราบ จะมีอาการหัวเปิด ซึ่งส่อแสดงว่าการลอกคราบจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ ต่อไปหากว่าต้องการจะเลี้ยงรวม จะได้จับเครฟิชแยกออกไปเลี้ยงเดี่ยวไว้เสียก่อนก็จะป้องกันการสูญเสียได้


ยังมีเนื้อหาต่อครับ ไว้พรุ่งนี้จะอัพเพิ่มครับ


ความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับการลอกคราบของกุ้ง http://www.shrimpcenter.com/t-shrimp016.html
     องค์ประกอบหลักของเปลือกส่วนใหญ่ประมาณมากกว่า 75% จะเป็นไคติน ที่เหลือจะเป็นพวกแร่ธาตุ เกลือ โปรตีนและไขมัน โดยขบวนการลอกคราบของกุ้งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุกุ้ง, ปริมาณสารอาหารที่ จำเป็น, ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและตัวกุ้ง รวมทั้งผลกระทบเชิงลบต่างๆ ที่ชะงักการกินอาหารของกุ้ง ในช่วงระหว่างที่กุ้งลอกคราบจะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาที่เกิดขึ้นในวงจรการลอกคราบ
1.ระยะก่อนการลอกคราบ (Premolt) มีการเปลี่ยนแปลงคือ
ปลาย ระยะก่อนการลอกคราบกุ้งจะไม่กินอาหาร จะสังเกตได้ว่ากุ้งเริ่มกินอาหารไม่หมด แต่กุ้งจะดึงสารอาหารและพลังงานจากอาหารที่สะสมไว้ที่ตับมาใช้แทน การสร้างคราบใหม่ จะเริ่มสร้างไคตินจากอาหารที่สะสม ไกลโคเจนที่ถูกสะสมไว้จะลดลงเนื่องจากถูกนำไปสร้างไคตินในการพัฒนาให้ เปลี่ยนเป็นเปลือกใหม่ ในระยะนี้จะพัฒนาเข้าสู่ระยะลอกคราบเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหาร ที่จะพัฒนาเป็นเปลือกใหม่
หากกุ้งได้รับสารอาหารและเปลี่ยนเป็นไคติ นได้มากก็จะลอกคราบได้เร็ว แต่ในกรณีหากเกิดปัญหาการกินชะงัก หรือสารอาหารไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไคติน ในเปลือกใหม่ช่วงระยะเวลาในการลอกคราบ ก็จะยืดออกไป3-5 วัน ระยะนี้ความต้องการออกซิเจนของเซลล์จะเพิ่มมากขึ้น จะมีการดูดซึมพวกแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สะสมอยู่ที่เปลือกเก่ากลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านระบบเลือด ทำให้คราบเก่าอ่อนนุ่มลง
2. ระยะลอกคราบ (Intermolt) มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ใน ระยะนี้กุ้งจะหยุดการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ปริมาณกลูโคส, โปรตีนและไขมัน ในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากกุ้งต้องใช้พลังงานมากในการลอกคราบ เมื่อลอกคราบเสร็จแล้วจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดูดซึมจากกระแสเลือดและเนื้อเยื่อของร่างกาย ระยะนี้จะสั้นมากเพราะเป็นระยะที่อันตรายที่สุดในวงจรชีวิต มักพบการสูญเสียกับกุ้งที่สะสม สารอาหารไม่เพียงพอ กุ้งลอกคราบไม่ออก ลอกคราบติด เปลือกนิ่ม ตัวกรอบแกรอบ และมักกินกันเอง
3. ระยะหลังการลอกคราบ (postmolt)หลัง จากการถอดคราบสมบูรณ์แล้ว การสะสมแคลเซียมก็เริ่มต้นทันทีเพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของเปลือก ระยะนี้จะมีการดึงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายมากที่สุด เพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของร่างกาย มีการสะสมแคลเซียมที่ บริเวณคราบชั้นนอก เมื่อเปลือกเริ่มแข็งก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหว และเริ่มกินอาหารเพิ่มขึ้น หลังจากระยะพักจากการลอกคราบ คราบใหม่แข็ง
หลัง การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเสร็จสมบูรณ์ อาหารที่กุ้งกินในแต่ละวันจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น อาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปให้สะสมในตับ อยู่ในรูปของสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน และ ไกลโคเจน เพื่อเป็นอาหารและพลังงานสำรองในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารที่จำเป็นใน การสร้างเปลือกใหม่อีกครั้ง ด้วยกลไกทางธรรมชาติ กุ้งจะรู้ตัวเองว่าสารอาหารต่างๆ ที่สะสมไว้เพียงพอ สำหรับการลอกคราบแล้ว การกินอาหารจะเริ่มลดลงเล็กน้อยและเตรียมเข้าสู่ระยะลอกคราบอีกครั้งเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอด
ช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง


อ้างอิง
http://www.fisheries.go.th/cf-pak_panang/index.php/2012-09-08-02-04-04/17-knowledge/aquaculture/70-2012-09-08-03-01-27?showall=&start=4
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8010/1/351326.pdf
http://jeb.biologists.org/content/214/1/3/F5.expansion.html
http://rydberg.biology.colostate.edu/mykleslab/Hormonal_control_of_molting.html

Wednesday, January 30, 2013

สายพันธุ์กุ้งเครฟิช (Crayfish Families)

กุ้งเครฟิช เป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาเท่านั้นที่ไม่พบ อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่เครฟิชในน้ำเค็ม เราจะเรียกกันว่า 'Lobsters' นะครับ ก่อนอื่นเรามารู้จักพี่น้องของเครฟิชกันก่อนดีกว่า ซึ่งในทางชีววิทยาเครฟิชจัดอยู่ในตระกูล Astacidea มีพี่น้องร่วมวงศ์อยู่ 7 วงศ์ คือ 


  1. Astacidae (European and Western North American Crayfishes) 
  2. Cambaridae  (North American and Asian Crayfishes)
  3. Enoplometopidae  (Tropical Reef Lobsters)
  4. Glypheidae  (Glypheid Lobsters)
  5. Nephropidae  (Marine Lobsters)
  6. Parastacidae  (Southern Hemisphere Crayfishes)
  7. Thaumastochelidae (Marine Pincer Lobsters)
อ้างอิง http://palaeos.com/metazoa/arthropoda/decapoda/images/world_dist.gif

ตกลงว่าเจ้ากุ้งเครฟิชนี่หมายถึงกุ้งในตระกูล Astacidea ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดเท่านั้นนะครับ ก็เลยเหลือกันอยู่แค่ 3 วงศ์ คือ Astacidae  Cambaridae และ Parastacidae

ก่อนอื่นลองมาทำความรู้จักพี่น้องร่วมตระกูลกันก่อนดีไหม สวยๆ น่าเลี้ยงไว้ดูเล่นเสียจริงๆ เป็น Lobster หลากหลายสายพันธุ์ สีสันสวยๆ ส่วนใหญ่เป็นจะอยู่ตามแนวประการัง มีภาพให้ดูพอเป็นกระสัย

Enoplometopus debelius มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Debelius's Dwarf Reef Lobster

อ้างอิง http://iucnredlist-photos.s3.amazonaws.com/medium/1730319271.jpg?AWSAccessKeyId=AKIAJIJQNN2N2SMHLZJA&Expires=1382016623&Signature=bDh6bviua9wGmk2l4TFeJvaupNg%3D

Enoplometopus antillensis มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Cigala Canaria Lobster


อ้างอิง http://www.fotonatura.org/galerias/fotos/usr325/12565828YZ.jpg

Enoplometopus daumi


อ้างอิง http://forum.aquarienfotografie.net/gallery/image.php?mode=medium&album_id=8&image_id=358

Enoplometopus holthuisi


อ้างอิง http://img.fotocommunity.com/images/Wildlife/Krebse/Wer-bin-ich-a23847379.jpg

Enoplometopus occidentalis

อ้างอิง http://www.waterworxbali.com/Images/Photos/Large/enoplometopus-occidentalis.jpg

ได้รู้จักเจ้า Lobsters หรือเครฟิชน้ำเค็มกันไปบ้างแล้ว คราวนี้มารู้จักกับพระเอกของเรา เครฟิช ตัวจริงเสียงจริงกันบ้าง
ซึ่งในประเทศไทยนิยมเลี้ยงเครฟิชกันเกือบ 10 ปี แล้ว เอาเป็นว่าระยะที่เริ่มมีขายกันเป็นล่ำเป็นสัน หาซื้อได้ง่าย คนเลี้ยงก็มีอยู่เยอะนั่นละ สมัยนั้นจะหาซื้อเครฟิชก็มีเครฟิชในสกุล Cherax กับ Procambarus ส่วนสกุลอื่นๆ หาซื้อยากมาก สำหรับคนที่อยากเลี้ยงเครฟิชในสกุลอื่นๆ ก็ต้องหอบหิ้วกันมาเองจากต่างประเทศ ราคาก็สูงอยู่ ไม่เหมือนพวก Cherax กับ Procambarus ที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงนัก ใครๆ ก็ซื้อหามาเลี้ยงได้ เพาะพันธุ์ก็ไม่ยาก และมีสีสันสวยงาม แล้วเจ้าเครฟิชใน 2 สกุลนี้ ไม่มีชื่อไทย เรียกชื่อวิทยาศาสตร์ก็เรียกยาก จำก็ยาก ทำให้ในตลาดจึงตั้งชื่อเรียกเสียใหม่ให้สั้น จดจำได้ง่ายขึ้น ก็เรียกสกุล Cherax ว่า เครฟิชสาย C ส่วนสกุล Procambarus ก็เรียกกันว่า เครฟิชสาย P

เดี่ยวนี้ในตลาดในบ้านเรามีเครฟิชสายพันธุ์ต่างๆ มากมาย มีผู้ค้าทั้งรายเล็กรายใหญ่นำเครฟิชสายพันธุ์ต่างๆ เข้ามาขายในประเทศกันเสียจนคนเลี้ยงเล่นๆ ทั่วๆ ไป แยกกันไม่ออกแล้วว่า พันธุ์ไหนหน้าตาเป็นอย่างไร และเดี่ยวนี้ในตลาดก็ไม่ได้มีแต่เครฟิชสาย C (Cherax) กับสาย P (Procambarus) แล้วนะครับ ลองดูในห้องซื้อ-ขาย ก็จะพบว่ามีขายอีกหลายสกุลเลยทีเดียว แต่ที่แน่ๆ ยังไงเครฟิชสาย C  กับเครฟิชสาย P ก็ยังเป็นเจ้าตลาดอยู่เสมอมา

เอาละ เรามาทำความรู้จักเครฟิชกันในแต่ละวงศ์กันดีกว่า


เริ่มด้วย วงศ์ Astacidae  

วงศ์นี้พบกระจายอยู่แถบเถือกเขาร็อกกี้ ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐบริติสโคลัมเบีย ประเทศคานาดา และพบทั่วไปในยุโรป Astacidae มี 3 สกุล 16 สปีชีส์

Astacus astacus


http://www.hlasek.com/foto/astacus_astacus_ff6987.jpg


Astacus leptodactylus

http://www.hlasek.com/foto/astacus_leptodactylus_fd0372.jpg


วงศ์ Cambaridae 


วงศ์นี้พบในภาคตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา กับทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก มี 12 สกุล 440 สปีชีส์


ในวงศ์นี้มีเลี้ยงกันในประเทศไทยอยู่หลายสกุลอยู่เหมือนกัน มี Procambarus เป็นสกุลที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด  ส่วนอีกสกุลหนึ่งที่เริ่มนิยมเลี้ยงกัน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากยังมีราคาสูง คือ Cambarus 


ในเวป aqua.c1ub.net มี Gallery Crayfish Thailand นำเข้าอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งดูเพิ่มเติมได้จากห้องซื้อ-ขายกุ้งเครฟิช 
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=149811.0

Cambarus (Tubericambarus) polychromatus หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Paintedhand Mudbug Crayfish




http://www.cryptomundo.com/wp-content/uploads/polychromatus.jpg

Cambarus Ludovicianus มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Painted Devil Crayfish

ในเวป aqua.c1ub.net มี ร้าน BJP Crayfish ที่จังหวัดพิษณุโลกก็มีให้ชม ซึ่งดูเพิ่มเติมได้จากห้องโชว์เครและตู้เคร
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=182906.0

บล๊อกของเหมียวกุ่ย ก็เขียนถึงสายพันธุ์นี้ไว้เหมือนกัน
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=meogui&month=03-2012&date=28&group=1&gblog=75




http://img12.imageshack.us/img12/6182/1004011632e5fac31f7c848.jpg

Cambarus diogenes หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Devil Crayfish




https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWgFvbngxaAlcxw9Rf75htc4enNXj_luCjSXbWnBnhtV9LO8Zp8mriigOGk5KFh7SLQFqKfUwWAzqmUFNuekUP7oQjlAD-Ou2z8I1zSHk-gxq_yLXGiAUI4nXxKcL3xXIP9GTb9F-ipESF/s1600/Cambarus_diogenes.jpg

Cambarus Pyronotus หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Fireback crayfish



http://farm8.staticflickr.com/7025/6517172965_a2847716be_z.jpg


http://cdn2.arkive.org/media/B2/B25CA1FD-8732-46A0-81E8-1A40DE3462AD/Presentation.Large/Cambarus-pyronotus.jpg

Procambarus Rogersi มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Seepage Crayfish


http://farm8.staticflickr.com/7031/6809302929_694100f51c_z.jpg

Procambarus Pygmaeus หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Christmas Tree Crayfish


ในเวป aqua.c1ub.net ก็มีคนเลี้ยงสกุลนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งดูเพิ่มเติมได้จากห้องโชว์เครและตู้เคร
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=55638.0




http://www.wirbellose.de/pics/procambarus_pygmaeus.jpg



http://www.crayfishkeepers.com/wordpress/wp-content/uploads/2011/06/CK-Procambarus-pygmaeus-1.jpg

Procambarus Fallax มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Marble Crayfish


ในเวป aqua.c1ub.net ก็มีคนเลี้ยงสกุลนี้อยู่พอสมควรเหมือนกัน เห็นได้จากมีการกล่าวถึงกันในหลายๆ กระทู้ เนื่องจากมีลักษณะพิเศษที่สปีชีส์นี้มีเฉพาะเพศเมีย และสามารถออกไข่แพร่พันธุ์ได้ น่าสนใจไหมละครับ?



http://www.aquariumdomain.com/images/invert_freshwater/marbledCrayfish1.jpg

Procambarus clarkii สปีชีส์นี้อยู่ในสกุลย่อย Scapulicambarus ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Red Crayfish

เป็นสปีชีส์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย มีชื่อทางการค้าให้เรียกกันง่ายๆ ตามสีที่ปรากฏหรือภูมิลำเนาเดิม เช่น Blue Spot, Snow White, Red Japan, Bright Orange เป็นต้น
ส่วนภาพข้างล่างนี้ เป็น Clarkii สีผสม ในตลาดจะเรียกว่า 'Ghost' ซึ่งมีราคาสูงเอาการอยู่เพราะ โอกาสที่จะผสมสายพันธุ์ให้ได้สีอย่างในภาพ โอกาสเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก

http://www.fisch-heim.de/wp-content/uploads/2010/10/P_clarkii-Ghost-1-.jpg


http://www.zoopet.com/bilder/data/705/A_PL_Procambarus_clarkii_ghost_DSC_0284.jpg


http://www.bee-point.de/bilder/ghost_1.jpg



http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=104913.msg1246300#msg1246300



http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=104913.30

Cambarus Setosus มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bristly Cave Crayfish 


เป็นเครฟิชที่อาศัยอยู่ในถ้ำอันมืดมิด ไม่มีแสงสว่างใดๆ ทำให้เครฟิชเหล่านี้มีตา แต่ก็บอดสนิทครับ



http://farm8.staticflickr.com/7187/6962583165_a5ba86b01c_z.jpg

นอกจาก Bristly Cave Crayfish แล้ว ยังมีเครฟิชอีกหลายสปีชีส์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสงสว่าง 


Cambaru Cryptodytes มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Dougherty Plain Cave Crayfish

นี่ก็เป็นอีกสปีชีส์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในถ้ำมืดๆ เปลือกใสแจ๋วเชียวครับ


http://farm7.staticflickr.com/6119/6392140549_1c186d9ffc_z.jpg


Procambarus alleni (อยู่ในสกุลย่อยของ Leconticambarus) 

ในประเทศไทยก็นิยมเลี้ยงอยู่มากเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำเงิน ในตลาดเรียกว่า Electric Blue Crayfish สีขาวเรียกว่า White Crayfish  สีน้ำตาลก็มีครับ

สายพันธุ์ Electric Blue Dragon ดังในภาพด้านล่าง ยังไม่เห็นมีขายในประเทศไทย เป็นพันธุ์สีน้ำเงิน ตาสีแดง



http://aqua-terra-vita.com/Images/Crayfish/EBDC3x5(300ppi)-1.jpg


http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=32306.0


http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=89697.0

http://i62.photobucket.com/albums/h109/Big_Vine/2008/Crayfish%20Breeding%20Project/July3027.jpg


http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=89697.0



http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=89212.msg1044130#msg1044130

http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=89212.msg1044130#msg1044130

http://farm8.staticflickr.com/7132/6969785562_a998f829ab_z.jpg

Parastacidae 

สกุลนี้พบในประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ทวีปอเมริกาใต้ และประเทศมาดากาสการ์ ทวีปแอฟริกา มี 16 สกุล 179 สปีชีส์


สปีชีส์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย คือ Cherax Destructor  เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ ส่วน Yabby เป็นชื่อภาษาอังกฤษ

Blue Pearl 
ที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย ก็จัดอยู่ในสปีชีส์ Cherax Destructor ด้วยเช่นกัน จึงผสมพันธุ์กับ Cherax Destructor สายพันธุ์อื่นๆ ได้ด้วย เหมือนกับหมาพันธุ์พุดเดิ้ล สามารถผสมพันธุ์กับหมาพันธุ์ชิสุได้นั่นละ คนละพันธุ์กัน แต่ก็อยู่ในสปีชีส์ C. Lupus เหมือนกัน จึงผสมพันธุ์กันได้ ลูกออกมาก็เรียกกันว่า พันธุ์ทาง

สัตว์แต่ละสายพันธุ์ก็มีลักษณะเด่นทางกายภาพที่แตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน และก็อุปนิสัยก็ต่างกันด้วย จึงมีการตั้งชื่อสายพันธุ์ขึ้นเพื่อให้ง่ายในการทำการตลาด อย่างเช่น ถ้าเราต้องการหาหมามาเลี้ยงสักตัว อยากจะได้ตัวเล็กๆ ขนปุกปุย ก็ไม่ต้องอธิบายเสียยืดยาว บอกสายพันธุ์ว่า พุดเดิ้ล ก็จะง่ายกว่า

การให้คงสายพันธุ์ที่ตรงกับลักษณะตามสายพันธุ์ตามที่เราต้องการนั้น ต้องมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณลักษณุตามที่กำหนด ไม่ให้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ หรือบางครั้งการผสมของพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์แท้ ก็อาจจะมีลูกไม่เหมือนกับพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ ซึ่งเรียกกันว่า การผ่าเหล่า เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้น ยิ่งมีผู้เลี้ยงมากขึ้นก็มีโอกาสเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น พวกปลาเผือกต่างๆ ปลาออสก้าสีทอง ก็เกิดจากการผ่าเหล่าด้วยเช่นกัน
Blue Pearl หรือ White Yabby (เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศ) จึงเป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจาก Cherax Destructor สายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งดูเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง เดสน้ำเงินแตกต่างอย่างไรกับบลูเพิร์ล? ของคุณ ณัฐ Yabby House 
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=151931.0


http://i3.photobucket.com/albums/y96/the_solitaire/Aquarium/destructor1600x1000.jpg
Engaeus Leptorhynchus
http://www.bluetier.org/misc-life/e-leptorhynchus.JPG



Cockroach Crayfish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Engaeus Leptorhynchus


แรกเห็นใครๆ ก็ต้องคิดว่าเป็นกุ้งเครฟิชหางกุดเป็นแน่ แต่จริงๆ แล้วเครฟิชแมลงสาบนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ไม่จัดว่าเป็นเครฟิช แต่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปูเสฉวน

ถึงแม้ว่ามันไม่ใช่เครฟิชก็อดไม่ได้ที่จะนำเสนอในบทความนี้ เพราะชื่อที่เรียกกันในตลาดว่า "เครฟิชแมลงสาบ" นี่ละ การเลี้ยงดูก็เหมือนกับเลี้ยงเครฟิชทุกประการ สีสันก็มีหลากหลาย สีส้ม สีเขียว สีเหลือง สีฟ้า สีดำ สีขาว และสีน้ำตาล

http://crusta10.de/userfiles/image/2008/Aegla%20Chile/A_denticulata.jpg


http://i.ytimg.com/vi/GdvB0c_CC7Q/0.jpg

http://i51.tinypic.com/ixrzls.jpg

http://www.planetainvertebrados.com.br/imagens_especies/textos/img_20121119_oleslfovkja1.jpg

http://www.macrofauna.cl/fi/imgs/aegla_abtao.jpg


อ้างอิง
สายพันธุ์ต่างๆ http://iz.carnegiemnh.org/crayfish/NewAstacidea/infraorder.asp?io=Astacidea
Blue Perl http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=149811.1710
แนะนำเครฟิช ตอนที่ 1-3 Astacus Astacus http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=149805.0

http://www.crusta10.de/templates/index.php?lang_id=1&showid=36&katid=2

ถกเถียงเกี่ยวกับ Blue Perl http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=124499.0

Sunday, January 20, 2013

การเลี้ยงกุ้งเครฟิชร่วมกับไม้น้ำและสัตว์อื่นๆ (Tank Mate)



สัตว์น้ำสำหรับตู้เลี้ยงเครฟิช

เครฟิชเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างก้าวร้าว เนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ในธรรมชาติเครฟิชจะจับปลา กุ้ง หอย และสัตว์น้ำอื่นๆ เป็นอาหารอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นในตู้เลี้ยงของเราจึงจำเป็นต้องใส่สัตว์ที่สามารถหลบหลีกเครฟิชได้อย่างว่องไวก็จะลดการสูญเสียได้
สำหรับผมได้เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยร่วมกับเครฟิชด้วยเช่นกัน มีปลาหางนกยูง ปลาคาร์ดินัล ปลาน้ำผึ้งเผือก และก็หอยหมวกดำ

ปลาหางนกยูง ผมเอาไว้ให้เก็บกินเศษอาหารที่เครฟิชพ่นออกมา เครฟิชเป็นสัตว์ฟันแทะ เวลากินจะมีเศษอาหารตกหล่นในกรณีที่อาหารไม่พอคำนะครับ ปลาหางนกยูงก็คอยจ้องกินอาหารอยู่ใกล้ๆ นั่นละ อาหารก็เลยไม่ตกค้างตามซอกหินบนพื้นตู้
นอกจากปลาหางนกยูงแล้ว ปลาสอดก็เหมาะสำหรับทำหน้าที่นี้ แต่ตู้นาโน ปลาหางนกยูงดูจะเหมาะกว่า

ปลาน้ำผึ้งเผือก อันนี้ไม่เกี่ยวกับเครฟิชโดยตรง แต่เพื่อให้ตู้ดูสะอาดเรียบร้อย ไม่มีตะไคร่เกาะ จะได้มองเห็นเครฟิชได้ชัดเจน อีกทั้งปลาน้ำผึ้งเผือกมีสีสวย และราคาไม่แพง หากว่าเกิดการสูญเสียขึ้นจะได้ไม่รู้สึกแย่ไปมาก

ปลาคาร์ดินัล อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเครฟิชโดยตรงเหมือนกัน เลี้ยงไว้ดูเล่นรองจากเครฟิช เนื่องจากว่าเครฟิชชอบหลบอยู่แต่ในโพรง ไม่ค่อยโผล่ออกมาแสดงตัว ก็ได้คาร์ดินัลฝูงนี้ เอาไว้ดูเล่น และปลาคาร์ดินัลก็เป็นปลากลางน้ำ อยู่กันคนละส่วนกับเครฟิช คาร์ดินัลก็เลยปลอดภัยไม่ถูกเครฟิชจับกิน นอกจากปลาคาร์ดินัลแล้ว เราจะเลี้ยงปลาอื่นๆ ก็ได้ที่ไม่ดุร้าย ไม่งั้นเวลาเครฟิชลอกคราบ เครฟิชก็เป็นอาหารของปลาได้เหมือนกัน

ส่วนหอยหมวกดำ เอาไว้กินตะไคร่น้ำกับเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกหิน ช่วยๆ กันกับปลาน้ำผึ้ง หอยชนิดนี้มีแรงยึดเกาะสูง เครฟิชจับกินได้ลำบาก

ผมเลี้ยงเครฟิชโดยเปิดไฟไว้ตลอดเวลานะครับ โคม LED ประหยัดไฟได้จริงๆ คือถ้าปล่อยให้มืด ปลาอาจจะมานอนบนพื้นตู้ ตื่นเช้าขึ้นมานับดูอีกที ปลาหายไปอยู่ในท้องเครฟิชแล้วครับ

สรรพสัตว์ในตู้เครฟิชทั้งหมดก็เลยอยู่ร่วมตู้เดียวกันโดยไม่มีการสูญเสีย และตู้ก็น่าสนใจมากขึ้นด้วย มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทั้งสัตว์เลี้ยง คนเลี้ยง ต่างก็มีความสุข

คำแนะนำสำหรับมือใหม่: โดยปกติเครฟิชมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว การเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำอื่นๆ ให้ทดลองเลี้ยงร่วมกันจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อทดสอบพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนใหญ่เครฟิชเพศเมียก้าวร้าวน้อยกว่าเพศผู้ และเครฟิชโตเต็มวัยก้าวร้าวน้อยกว่าเครฟิชที่กำลังเติบโต
และที่สำคัญตู้เลี้ยงต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะให้สัตว์น้ำอื่นๆ หลบเลี่ยงการไล่จับของเครฟิชได้ด้วยนะครับ

ไม้น้ำสำหรับตู้เลี้ยงเครฟิช

เครฟิชเป็นสัตว์ที่กินพืชได้สารพัดชนิด ไม่ว่าจะใส่อะไรลงไป เช่น แครอท ข้าวโพด ผักกาด แตงกวา ข้าวสวย เครฟิชจัดการกินซะเรียบ

ฉะนั้นไม้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นอะไร เครฟิชจัดการเป็นอาหารได้ทั้งหมด และเครฟิชเป็นช่างขุด ช่างรื้อถอนไม้น้ำอีกด้วย งั้นเครฟิชกับตู้ไม้น้ำนี่คงไปด้วยกันไม่ได้ละสิ

จะว่าไปแล้วก็พอจะเลี้ยงไม้น้ำร่วมกับเครฟิชได้บ้างครับ ผมเองก็มีไม้น้ำร่วมตู้อยู่เหมือนกัน มีสาหร่ายเดนซ่า จอก สาหร่ายพุงชะโด และพลับพลึงธาร

จอก เป็นพืชลอยน้ำ มีรากยาวลงมาถึงกลางตู้ ผมใช้เพื่อลดพื้นที่โล่งๆ ในตู้ได้ดีทีเดียว อีกอย่างหนึ่ง คือ เครฟิชเป็นสัตว์พื้นตู้ จอกก็เลยปลอดภัยจากการถูกกิน แต่ถ้าปล่อยให้เครฟิชหิว รากอันงดงามของจอกก็เป็นอาหารของเครฟิชได้ครับ

สาหร่ายเดนซ่า ใส่ไว้เพื่อเป็นอาหารเร่งสี ผมเลี้ยงเครฟิชสีส้ม ได้กินสาหร่ายสดๆ ขับสีส้มได้ดีจริงๆ ครับ เวลาเครฟิชอยากจะกินสาหร่ายเดนซ่าขึ้นมา ก็จะดีดตัวไปเกาะสาหร่ายที่อยู่ผิวน้ำเอาได้ครับ ไม่ต้องถ่วง หรือปลูกลงกระถาง

สาหร่ายพุงชะโด ผมใส่ไว้เพื่อความสวยงาม เวลาโดยกระแสน้ำแล้วขยับไปมาดูอ่อนช้อยน่าชมกว่าสาหร่ายเดนซ่ามาก

ส่วนพลับพลึงธาร ไม่เกี่ยวกับเครฟิชโดยตรง แต่ผมชอบเป็นการส่วนตัว ผมสังเกตว่าถ้าใส่สาหร่ายเดนซ่าไว้ กุ้งจะเลือกกินสาหร่ายเป็นลำดับแรก พลับพลึงธารก็เลยปลอดภัย แต่ผมไม่ไว้ใจปลูกไว้ที่พื้นตู้หรอกนะครับ มันเสี่ยงเกินไป ผมปลูกไว้กลางตู้โดยใช้จุ๊บยางสูญญากาศจับลำต้นเอาไว้ ปลูกมาหลายเดือนแล้ว ปลอดภัยครับ

การปลูกไม้น้ำในตู้เครฟิช ทำให้เครฟิชและปลาต่างๆ มีความสุขมากขึ้น ไม่เครียด ขับสีสันได้ดีกว่าไม่มีไม้น้ำอยู่เลย แต่เราก็ต้องทำใจนะครับ ถ้าหากไม้น้ำถูกเครฟิชกัดกินไปบ้าง ก็เป็นธรรมชาติของเขา ให้อาหารอย่างเพียงพอ ต้นไม้ก็จะปลอดภัยกว่า

ไม้น้ำ ยังช่วยลดสารพิษในน้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย และได้ผลกว่าตู้ไม้น้ำเสียอีก ทำไมเป็นอย่างนั้นหรือครับ ปกติตู้ไม้น้ำเราจะให้ปุ๋ยละลายน้ำ หรือฝังดินไว้ ไม้น้ำก็จะได้รับสารอาหารจากปุ๋ยโดยไม่จำเป็นต้องกินจากของเสียในตู้ แต่ตู้เครฟิชไม่ได้ให้ปุ่ยใดๆ จึงต้องดึงไนเตรทที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายพวกมูลสัตว์เพียงทางเดียวเท่านั้น ไม้น้ำก็ยังเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยแต่อย่างใด คนเลี้ยงก็สบาย ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำกันบ่อยๆ

คำแนะนำสำหรับมือใหม่: ควรทดลองปลูกไม้น้ำที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย และโตไว เมื่อถูกเครฟิชกัดกินจะได้นำต้นใหม่มาทดแทนได้ง่าย และควรปลูกสาหร่ายหางกระรอกหรือสาหร่ายเดนซ่าไว้ด้วย เพราะเครฟิชชอบกิน ทำให้ลดการกัดกินพืชน้ำอื่นๆ ได้ 
และที่สำคัญ ให้อาหารเครฟิชอย่างเพียงพอนะครับ ถ้าปล่อยให้หิวจัดพืชน้ำก็จะกลายเป็นอาหาร